Saturday, October 13, 2007

IV : เนื้อเยื่อสัตว์

สิ่งมีชีวิตประกอบด้วยหน่วยเล็กที่สุดคือ เซลล์ การรวมตัวกันของกลุ่มเซลล์ซึ่งมีรูปร่างและหน้าที่คล้ายกันหรือเหมือนกันเพื่อทำหน้าที่เพียงอย่างเดียวนั้น โดยทั่วไปกลุ่มเซลลดังกล่าวมักมีต้นกำเนิดมาจากกลุ่มเซลล์ชนิดเดียวกันตั้งแต่ระยะเป็น ตัวอ่อน (embryo) แล้วจึงมีการเจริญพัตฒนามาเป็นกลุ่มเซลล์ของเนื้อเยื่อ (tissue)

แบ่งเนื้อเยื่อออกเป็น 4 กลุ่มคือ
1 เนื้อเยื่อบุผิว ( epithelial tissue )
2 เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ( connective tissue )
3 เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ ( muscular tissue )
4 เนื้อเยื่อประสาท ( nervous tissue )

1 Epithelial Tissue
ทำหน้าที่ป้องกัน (protection) โดยการคลุมผิวอวัยวะทั้งภายนอกและภายใน
เนื้อเยื่อบุถูกจำแนกโดยใช้ลักษณะการเรียงตัวของเซลล์บนเยื่อรองรับฐานเป็นเกณฑ์ได้ 4 กลุ่ม

1.1 เนื่อเยื่อบุผิวเรียงตัวชั้นเดียว (simple epithelium)

-> เซลล์เรียงตัวชั้นเดียวบนฐานรองรับ




- squamous epithelium เซลล์รูปร่างหลายเหลี่ยมแบนบาง เช่น เยื่อบุผิวข้างแก้มในช่องปาก บุผิวช่องภายในหลอดเลือดฝอย



- cuboidal หรือ cubical epithelium เป็นสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ นิวเคลียสใหญ่เห็นชัดเจน เช่น บุผิวช่องภายในช่องหลอดไต บุผิวคลุมรังไข่



- columnar epithelium เซลล์รูปทรงกระบอก เช่น บุผิวช่องภายในช่องภายในกระเพาะปัสสวะ บุผิวช่องภายในท่อทางเดินอาหาร และบุผิวโพรงมดลูก


- ciliated columnar epithelium คล้าย columnar epithelium แต่มีขน เช่น บุผิวภายในหลอดลม ท่อนำไข่



1.2 เนื้อเยื่อบุผิวเรียงตัวซ้อนกันหลายชั้น ( stratified epithelium )
เซลล์ตั้งซ้อนกันหลายชั้นอยู่บนเยื่อรองรับฐาน
- stratified squamous epithelium พบที่ ผิวหนัง หลอดอาหาร



- stratified cuboidal epithelium พบที่ ต่อมเหงื่อ ช่องปาก



- stratified columnar epithelium พบที่ อวัยวะรับกลิ่น



1.3 เนื้อเยื่อบุผิวเรียงตัวซ้อนหลายชั้นเทียม ( pseudostratified epithelium )
ฐานของทุกเซลล์ตั้งอยู่บนเยื่อรองรับฐาน แต่ความสูงต่ำของแต่ละเซลล์ไม่เท่ากัน เช่น ที่ผนังภายในท่อปัสสาวะ และหลอดลม



1.4 เนื้อเยื่อบุผิวเรียงตัวซ้อนกันกลายชั้นยืดหยุ่น ( transitional epithelium )
เช่น ที่กระเพาะปัสสาวะ





2. Connective Tissue
มี 3 องค์ประกอบหลัก คือ เซลล์ (corpuscle) เส้นใย (fiber) เมทริกซ์(matrix หรือ ground substance)
ทำหน้าที่ เชื่อมต่อ หรือ ยึดส่วนต่างๆของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะ
- corpuscle มีหลายรูปร่างและหน้าที่
- fiber มี 3 ชนิดคือ
---- เส้นใยสีขาว (white collagen fiber) มีความยืดหยุ่นน้อย พบที่ เอ็น (tendon)
---- เยื่อหุ้มมัดกล้ามเนื้อ (muscle sheath)
---- เส้นใยสีเหลือง ( elastic fiber หรือ yellow elastic fiber ) มีลักษณะเป็นเส้นใยแตกแขนง พบที่ เอ็นบานพับ
---- เส้นใยเรติคูลาร์ (retcular fiber)
- matrix เป็นสารที่มีลักษณะต่างกัน ตั้งแต่ ใส เหลว เช่น น้ำเลือด หรือ น้ำเหลือง
แบ่งเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ได้ 4 ประเภทหลัก

2.1 เนื้อเยื่อเกี่ยวพันเฉพาะ

----> areolar connective tissue เรียกเซลล์กลุ่มนี้ว่า ไฟโบรบลาสท์ (fibroblast)
----> dense connective tissue ได้แก่
-----------> เนื่อเยื่อเกี่ยวพันคอลลาเจน
-----------> เนื่อเยื่อเกี่ยวพันเส้นใยอิลาสติกหรือเส้นใยเหลือง

2.2 เนื้อเยื่อเกี่ยวพันพิเศษ

----> adipose tissue เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่สะสมไขมันไว้จนเต็มช่อง vacuole ในเซลล์

----> reticular tissue เป็นเนื้อเยื่อลักษณะโปรง ตัวเซลล์มีแขนงยื่นออกไปเชื่อกับเซลล์ใกล้เคียง พบที่ ไขกระดูก(bone marrow) , ต่อมไทมัส (thymus gland)

----> pigmented tissue ทำหน้าที่สร้างสารสี ได้แก่ ม่านตา และ ผิวหนัง

2.3 เนื้อเยื่อเกี่ยวพันพยุง หรือ อาจเรียกว่า เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดค้ำจุน ได้แก่

----> cartilage หรือ กระดูกอ่อน ประกอบด้วยเซลล์กระดูกอ่อน เรียกว่า chondrocyte อยู่ภายในช่อง lacuna แบ่งกระดูกอ่อนเป็น 3 ชนิด ตือ hyaline cartilage , elastic cartilage , fibro cartilage

----> bone
โพรงในกระดูกท่อนเป็นแหล่งที่อยู่ของ ไขกระดูก (bone marrow) ซึ่งทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดง
เซลล์กระดูกมีชื่อเรียกเฉพาะว่า ออสติโอไซท์(osteocyte) เรียงตัวเป็นวงและเป็นชั้นๆ เรียกว่า laella ล้อมรอบ ท่อฮาเวอร์เซียน (Haversian canal)
เรียกลักษณะการจัดตัวของออสติโอไซท์รอบท่อฮาเวอร์เชียนว่า ระบบฮาเวอร์เชียน(Haversian system)

2.4 เลือด
เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดน้ำ (vascular tissue) มีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วนคือ
----> plasma หรือ น้ำเลือด
----> เซลล์เม็ดเลือด คือ
เซลล์เม็ดเลือดแดง (erythrocyte หรือ red blood cell) เซลล์ไม่มีนิวเคลียส มีลักษณะทรงกลมเว้าเข้าตรงกลาง สีแดงของโปรตีนคือ haemoglobin เม็ดเลือดแดงมีมากกว่าเม็ดเลือดขาวประมาณ 500 เท่า
เซลล์เม็ดเลือดขาว (leucocyte หรือ white blood cell) มีนิวเคลียสแต่ไม่มีฮีโมโกรบิน ขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดง แบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่คือ

  • agranulocyte ไซโทพลาซึมไม่มีเกล็ดแกรนุล (granule)

  • granlocyte มีเม็ดแกรนุลในไซโทพลาซึม นิวเคลียสเป็นกลีบ
เกล็ดเลือด (blood platelet) เป็นชิ้นส่วนของเซลล์ เปราะบางมาก พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการห้ามเลือด (blood clotting process)

3. muscular tissue
  • กล้ามเนื้อลาย (striated หรือ skeletal ) เซลล์มีรูปร่างทรงกระบอกยาว

  • กล้ามเนื้อเรียบ (smoot muscle) เซลล์มีรูปเรียวหัวท้ายแหลม นิวเคลียสใหญ่อยู่กลางเซลล์ พบได้ที่ผนังทางเดินอาหารตั้งแต่ส่วน หลอดอาหาร(oesophogus) ไปจนถึง (anus) ผนังหลอดลม

  • กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) เป็นกล้ามเนื้อของหัวใจโดยเฉพาะ เซลล์เป็นรูปทรงกระบอก มีลายขวาง ปลายแตกเป็นแขนงเชื่อมกับอีกเซลล์ (intercalateddisc)
4. Nervous Tissue
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับความรู้สึกจากภายใน และสิ่งเร้าจากภายนอกร่างกาย
เซลล์ประสาทมีขนาดใหญ่เรียกว่า นิวรอน(neuron) ประกอบด้วย
  • ตัวเซลล์ (cell body)
  • dentrite แขนงรับความรู้สึกเข้าสู่เซลล์ มีมากกว่า 1 แขนง

  • axon แขนงส่งความรู้สึกออกจากเซลล์ มีเส้นเดียว มีนิวเคลียส คือ นิวโรเล็มมา(neurolemma) หุ้มอีกชั้น

  • เซลล์ค้ำจุน เช่น นิวโรเกลีย(neuroglia) ซึ่งมีจำนวนมากกว่าเซลล์ประสาทถึง 10 เท่าทำหน้าที่คุ้มครองและค้ำจุนเซลล์ประสาท

No comments: