Saturday, October 13, 2007

I : กล้องจุลทรรศน์และการใช้กล้องจุลทรรศน์




ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์
1. base คือฐานของกล้องจุลทรรน์
2. light source คือ แหล่งกำเนิดแสงที่ส่องสว่างให้กับกล้องจุลทรรศน์
3. condenser เป็นระบบเลนส์ติดอยู่เหนือ light source และอยู่ใต้แท่นวางวัตถุสามารถปรับระดับ condenser ได้ด้วย condenser adjustment knob ทำหน้าที่รวมแสงจาก light source ที่ผ่าน iris diaphragm ให้มาที่วัตถุมากหรือน้อยตามต้องการ บางทีเรียกว่า substage condenser
4. iris diaphragm อยู่ใต้ substage condenser ทำหน้าที่บังคับแสงจาก light source ให้ผ่านเข้าสู่ substage condenser มากน้อยตามต้องการ
5. arm คือ มือจับที่ยึดอยู่ระหว่างฐานกับตัวลำกล้อง และเป็นแกนยึดส่วนต่างๆของกล้อง ไว้ในกรณีที่ body tube ตั้งตรงในแนวดิ่ง ที่ arm จะมี inclination join เป็นข้อเอียงใช้ปรับแท่นและ body tube เพื่อให้ดูภาพจาก ocular lens ได้สะดวก
6. stage คือแท่นวางวัตถุที่จะศึกษา ตรงกลางมีรูกลมให้แสงส่องผ่าน substage condenser ทะลุมายังวัตถุได้ ในกล้องแบบใหม่จะติดตั้ง mechanical stage แทน ซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่ยึดสไลด์กับ stage แล้วยังสามารถเลื่อนสไลด์ ไปมาตามแนวนอน ได้ทั้ง 2 ทาง คือ ซ้าย ขวา และ หน้า หลัง
7. adjustment knob เป็นปุ่ม หรือ วงล้อที่ติดอยู่กับ arm มีกลไกลทำให้ตัวกล้อง เลื่อนขึ้นและลง หรือทำให้แท่นวัตถุเลื่อนขึ้นและลง เพื่อปรับหาระยะโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุให้ได้ภาพชัดเจน มี 2 ชนิดคือ
I. coarse adjustment knob วงล้อหยาบ ใช้ปรับหาระยะโฟกัสให้ละเอียด ยิ่งขึ้น ปรับได้ระยะทางน้อย ควรใช้กับเลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยายต่ำหรือกำลังขยายปานกลาง
II. fine adjustment knob วงล้อละเอียด ใช้ปรับหาระยะโฟกัสให้ละเอียดยิ่งขึ้น ปรับได้ระยะทางน้อย ควรใช้กับเลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยายสูง
8. body tube หรือ mechanical tube เป็นท่อทางเดินของแสงที่ยึดติดกับ arm และ revolving nosepiece มีลักษณะเป็นท่อกลวง ปลายบนที่ยึดติดกับเลนส์ใกล้ตา ปลายล่างยึดติดกับเลนส์ใกล้วัตถุ
9. revolving nosepiece เป็นส่วนที่อยู่ปลายล่างของ body tube มีลักษณะเป็นแท่นกลมมีช่องสำหรับใส่เลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยายขนาดต่างๆสามารถหมุนเปลี่ยนกำลังขยายต่างๆได้
10. objective lens คือเลนส์ชุดที่อยู่ใกล้กับวัตถุ ติดอยู่กับ revolving nosepiece ทำให้เกิดภาพของวัตถุครั้งแรกที่มีขนาดขยายขึ้น
11. stage clip คือ ที่ยึดแผ่นสไลด์ ให้ติดอยู่กับ stage
12. inclination joint คือ ปุ่มปรับแท่น และ body tube

IV : เนื้อเยื่อสัตว์

สิ่งมีชีวิตประกอบด้วยหน่วยเล็กที่สุดคือ เซลล์ การรวมตัวกันของกลุ่มเซลล์ซึ่งมีรูปร่างและหน้าที่คล้ายกันหรือเหมือนกันเพื่อทำหน้าที่เพียงอย่างเดียวนั้น โดยทั่วไปกลุ่มเซลลดังกล่าวมักมีต้นกำเนิดมาจากกลุ่มเซลล์ชนิดเดียวกันตั้งแต่ระยะเป็น ตัวอ่อน (embryo) แล้วจึงมีการเจริญพัตฒนามาเป็นกลุ่มเซลล์ของเนื้อเยื่อ (tissue)

แบ่งเนื้อเยื่อออกเป็น 4 กลุ่มคือ
1 เนื้อเยื่อบุผิว ( epithelial tissue )
2 เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ( connective tissue )
3 เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ ( muscular tissue )
4 เนื้อเยื่อประสาท ( nervous tissue )

1 Epithelial Tissue
ทำหน้าที่ป้องกัน (protection) โดยการคลุมผิวอวัยวะทั้งภายนอกและภายใน
เนื้อเยื่อบุถูกจำแนกโดยใช้ลักษณะการเรียงตัวของเซลล์บนเยื่อรองรับฐานเป็นเกณฑ์ได้ 4 กลุ่ม

1.1 เนื่อเยื่อบุผิวเรียงตัวชั้นเดียว (simple epithelium)

-> เซลล์เรียงตัวชั้นเดียวบนฐานรองรับ




- squamous epithelium เซลล์รูปร่างหลายเหลี่ยมแบนบาง เช่น เยื่อบุผิวข้างแก้มในช่องปาก บุผิวช่องภายในหลอดเลือดฝอย



- cuboidal หรือ cubical epithelium เป็นสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ นิวเคลียสใหญ่เห็นชัดเจน เช่น บุผิวช่องภายในช่องหลอดไต บุผิวคลุมรังไข่



- columnar epithelium เซลล์รูปทรงกระบอก เช่น บุผิวช่องภายในช่องภายในกระเพาะปัสสวะ บุผิวช่องภายในท่อทางเดินอาหาร และบุผิวโพรงมดลูก


- ciliated columnar epithelium คล้าย columnar epithelium แต่มีขน เช่น บุผิวภายในหลอดลม ท่อนำไข่



1.2 เนื้อเยื่อบุผิวเรียงตัวซ้อนกันหลายชั้น ( stratified epithelium )
เซลล์ตั้งซ้อนกันหลายชั้นอยู่บนเยื่อรองรับฐาน
- stratified squamous epithelium พบที่ ผิวหนัง หลอดอาหาร



- stratified cuboidal epithelium พบที่ ต่อมเหงื่อ ช่องปาก



- stratified columnar epithelium พบที่ อวัยวะรับกลิ่น



1.3 เนื้อเยื่อบุผิวเรียงตัวซ้อนหลายชั้นเทียม ( pseudostratified epithelium )
ฐานของทุกเซลล์ตั้งอยู่บนเยื่อรองรับฐาน แต่ความสูงต่ำของแต่ละเซลล์ไม่เท่ากัน เช่น ที่ผนังภายในท่อปัสสาวะ และหลอดลม



1.4 เนื้อเยื่อบุผิวเรียงตัวซ้อนกันกลายชั้นยืดหยุ่น ( transitional epithelium )
เช่น ที่กระเพาะปัสสาวะ





2. Connective Tissue
มี 3 องค์ประกอบหลัก คือ เซลล์ (corpuscle) เส้นใย (fiber) เมทริกซ์(matrix หรือ ground substance)
ทำหน้าที่ เชื่อมต่อ หรือ ยึดส่วนต่างๆของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะ
- corpuscle มีหลายรูปร่างและหน้าที่
- fiber มี 3 ชนิดคือ
---- เส้นใยสีขาว (white collagen fiber) มีความยืดหยุ่นน้อย พบที่ เอ็น (tendon)
---- เยื่อหุ้มมัดกล้ามเนื้อ (muscle sheath)
---- เส้นใยสีเหลือง ( elastic fiber หรือ yellow elastic fiber ) มีลักษณะเป็นเส้นใยแตกแขนง พบที่ เอ็นบานพับ
---- เส้นใยเรติคูลาร์ (retcular fiber)
- matrix เป็นสารที่มีลักษณะต่างกัน ตั้งแต่ ใส เหลว เช่น น้ำเลือด หรือ น้ำเหลือง
แบ่งเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ได้ 4 ประเภทหลัก

2.1 เนื้อเยื่อเกี่ยวพันเฉพาะ

----> areolar connective tissue เรียกเซลล์กลุ่มนี้ว่า ไฟโบรบลาสท์ (fibroblast)
----> dense connective tissue ได้แก่
-----------> เนื่อเยื่อเกี่ยวพันคอลลาเจน
-----------> เนื่อเยื่อเกี่ยวพันเส้นใยอิลาสติกหรือเส้นใยเหลือง

2.2 เนื้อเยื่อเกี่ยวพันพิเศษ

----> adipose tissue เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่สะสมไขมันไว้จนเต็มช่อง vacuole ในเซลล์

----> reticular tissue เป็นเนื้อเยื่อลักษณะโปรง ตัวเซลล์มีแขนงยื่นออกไปเชื่อกับเซลล์ใกล้เคียง พบที่ ไขกระดูก(bone marrow) , ต่อมไทมัส (thymus gland)

----> pigmented tissue ทำหน้าที่สร้างสารสี ได้แก่ ม่านตา และ ผิวหนัง

2.3 เนื้อเยื่อเกี่ยวพันพยุง หรือ อาจเรียกว่า เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดค้ำจุน ได้แก่

----> cartilage หรือ กระดูกอ่อน ประกอบด้วยเซลล์กระดูกอ่อน เรียกว่า chondrocyte อยู่ภายในช่อง lacuna แบ่งกระดูกอ่อนเป็น 3 ชนิด ตือ hyaline cartilage , elastic cartilage , fibro cartilage

----> bone
โพรงในกระดูกท่อนเป็นแหล่งที่อยู่ของ ไขกระดูก (bone marrow) ซึ่งทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดง
เซลล์กระดูกมีชื่อเรียกเฉพาะว่า ออสติโอไซท์(osteocyte) เรียงตัวเป็นวงและเป็นชั้นๆ เรียกว่า laella ล้อมรอบ ท่อฮาเวอร์เซียน (Haversian canal)
เรียกลักษณะการจัดตัวของออสติโอไซท์รอบท่อฮาเวอร์เชียนว่า ระบบฮาเวอร์เชียน(Haversian system)

2.4 เลือด
เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดน้ำ (vascular tissue) มีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วนคือ
----> plasma หรือ น้ำเลือด
----> เซลล์เม็ดเลือด คือ
เซลล์เม็ดเลือดแดง (erythrocyte หรือ red blood cell) เซลล์ไม่มีนิวเคลียส มีลักษณะทรงกลมเว้าเข้าตรงกลาง สีแดงของโปรตีนคือ haemoglobin เม็ดเลือดแดงมีมากกว่าเม็ดเลือดขาวประมาณ 500 เท่า
เซลล์เม็ดเลือดขาว (leucocyte หรือ white blood cell) มีนิวเคลียสแต่ไม่มีฮีโมโกรบิน ขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดง แบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่คือ

  • agranulocyte ไซโทพลาซึมไม่มีเกล็ดแกรนุล (granule)

  • granlocyte มีเม็ดแกรนุลในไซโทพลาซึม นิวเคลียสเป็นกลีบ
เกล็ดเลือด (blood platelet) เป็นชิ้นส่วนของเซลล์ เปราะบางมาก พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการห้ามเลือด (blood clotting process)

3. muscular tissue
  • กล้ามเนื้อลาย (striated หรือ skeletal ) เซลล์มีรูปร่างทรงกระบอกยาว

  • กล้ามเนื้อเรียบ (smoot muscle) เซลล์มีรูปเรียวหัวท้ายแหลม นิวเคลียสใหญ่อยู่กลางเซลล์ พบได้ที่ผนังทางเดินอาหารตั้งแต่ส่วน หลอดอาหาร(oesophogus) ไปจนถึง (anus) ผนังหลอดลม

  • กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) เป็นกล้ามเนื้อของหัวใจโดยเฉพาะ เซลล์เป็นรูปทรงกระบอก มีลายขวาง ปลายแตกเป็นแขนงเชื่อมกับอีกเซลล์ (intercalateddisc)
4. Nervous Tissue
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับความรู้สึกจากภายใน และสิ่งเร้าจากภายนอกร่างกาย
เซลล์ประสาทมีขนาดใหญ่เรียกว่า นิวรอน(neuron) ประกอบด้วย
  • ตัวเซลล์ (cell body)
  • dentrite แขนงรับความรู้สึกเข้าสู่เซลล์ มีมากกว่า 1 แขนง

  • axon แขนงส่งความรู้สึกออกจากเซลล์ มีเส้นเดียว มีนิวเคลียส คือ นิวโรเล็มมา(neurolemma) หุ้มอีกชั้น

  • เซลล์ค้ำจุน เช่น นิวโรเกลีย(neuroglia) ซึ่งมีจำนวนมากกว่าเซลล์ประสาทถึง 10 เท่าทำหน้าที่คุ้มครองและค้ำจุนเซลล์ประสาท

II : การแบ่งเซลล์

การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
1. โดยทั่วไปเป็นการแบ่งเซลล์ของร่างกาย เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ เพื่อการเจริญเติบโต หรือ การสืบพันธุ์ ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
2. เริ่มจาก 1 เซลล์ แบ่งครึ่งเดียวได้เป็น 2 เซลล์ใหม่
3. เซลล์ใหม่ที่เกิดขึ้น 2 เซลล์สามารถแบ่งตัวแบบไมโตซีสได้อีก
4. การแบ่งแบบไมโตซีส จะเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ ระยะไซโกต และสืบเนี่องกันไปตลอดชีวิต
5. จำนวนโครโมโซม หลังการแบ่งจะเท่าเดิม (2n) เพราะไม่มีการแยกคู่ ของโฮโมโลกัสโครโมโซม
6. ไม่มีไซแนปซีส ไม่มีไคแอสมา และไม่มีครอสซิงโอเวอร์
7. ลักษณะของสารพันธุ์กรรม(DNA) และโครโมโซมใหม่ ทั้งสองจะเหมือนกันทุกประการ







ขั้นตอนการแบ่งเซลล์แบบไมโตซีส
1. ระยะInterphase นิวเคลียสพักตัว ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
2. ระยะ Prophase โครโมโซมหดตัวสั้นลง หนาขึ้น และขาดออกเป็นท่อนๆมีผนังนิวเคลียส
3. ระยะ Metaphase โครโมโซมรวมกันอยู่ตรงกลาง ผนังนิวเคลียสหายไป มีเส้นใยไฟเบอร์เกิดขึ้น
4. ระยะ Anaphase centromeres เริ่มแยกตัวไปยังแต่ละขั้วของเซลล์ โครโมโซมอยู่ที่แต่ละขั้วของเซลล์
5. ระยะ Telophase โครโมโซมอยู่ที่ขั้วของเซลล์ เริ่มคลายเกลียวยืดออก ไฟเบอร์เริ่มแยกออกจากกัน จนได้เป็น 2 เซลล์

III : เนื้อเยื่อพืช

การจำแนกพืชโดยใช้ลักษณะของขนาดและความแข็งแรงของโครงสร้างพืชเป็นเกณฑ์จะจำแนกพืชออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ


  • กลุ่มพืชล้มลุก (herbaceous plant หรือ primary plant body) หรือ กลุ่มพืชไม่มีเนื้อไม้ (non-woody plant หรือ annual plant) เนื้อเยื่อที่เป็นองค์ประกอบของพืช จะประกอบไปด้วย เนื้อเยื่อระยะแรก (primary tissue) เพียงอย่างเดียว ต้นพืชมีอายุยืนยาวไม่เกินหนึ่งปี
  • กลุ่มพืชที่มีเนื้อไม้ (woody plant หรือ secondary plant body) เนื้อไม้เกิดจาก primary tissue พัฒนามาเป็น secondary tissue เพื่อเพิ่มขนาดให้แก่รากและลำต้น ลักษณะดังกล่าวพบในพืชใบเลี้ยงคู่เท่านั้น

เปรียบเทียบลักษณะทั่วไปของ primary plant body และ secondary plant body

primary plant body

  • เนื้อเยื่อเจริญมาจากเซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญส่วนที่ส่วนปลาย(apical meristems) และเนื้อเยื่อเจริญที่ส่วนเหนือข้อ(intercalary meristem)
  • กลุ่มเนื้อเยื่อระยะแรกประกอบกันขึ้นมาเป็นต้นพืชที่มีลำต้นอ่อน ไม่มีเนื้อไม้แข็งตลอดอายุขัย
  • พบได้ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่

secondary plant body

  • พัฒนาสภาพเนื้อเยื่อมาจากเซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญที่ส่วนข้าง (lateral meristem หรือ cambium) หลังจากที่มีการเจริญมาจากเนื้อเยื่อส่วนปลายแล้ว
  • ประกอบด้วยกลุ่มเนื้อเยื่อระยะที่สอง คือ เปลือก (bark) และเนื้อไม้ (wood) พบเนื้อเยื่อระยะแรกที่ปลายยอด ปลายราก ของต้นกล้าและต้นอ่อนเท่านั้น
  • พบได้เพฉาะในพืชใบเลี้ยงคู่ที่มีอายุนานเกินหนึ่งปีขึ้นไป

เนื้อเยื่อพืช : หมายถึง กลุ่มของเซลล์ที่มารวมกันเป็นโครงสร้างเพื่อทำหน้าที่เพฉาะให้แก่ต้นพืช จำแนกกลุ่มของเนื้อเยื่อพืชได้เป็นสองประเภทหลัก คือ เนื้อเยื่อเจริญ (meristematic tussue หรือ meristem) และ เนื้อเยื่อถาวร (permanent tissue หรือ mature tissue)


  1. เนื้อเยื่อเจริญ (meristem) แยกได้ 3 ประเภท คือ
    - เนื้อเยื่อเจริญที่ส่วนปลาย คือ ที่ปลายราก (root tip) และ บริเวณปลายยอด (shoot tip)
    - เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ มีหน้าที่แบ่งเซลล์เพิ่มจำนวน แล้วยืดขยายขนาดของเซลล์ออกไป
    ** เนื้อเยื่อเจริญสองประเภทนี้ทำให้พืชมีการเจริญเติบโตขั้นแรก จึงเรียกว่า เนื้อเยื่อเจริญระยะแรก (primary meristems)
    - เนื้อเยื่อเจริญส่วนข้าง เรียกว่า แคมเบียม (cambium) เป็นกลุ่มเซลล์เนื้อเยื่อเจริญที่แทรกอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อท่อลำเลียงของรากและลำต้นของพืชพวกใบเลี้ยงคู่ที่มีเนื้อไม้ เรียกการเจริญจากเนื้อเยื่อประเภทนี้ว่า การเจริญเติบโตขั้นที่สอง (secondary growth) ยังผลให้ต้นพืชเจริญด้านข้าง แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
    1. cork cambium หรือ phellogen(เนื้อเยื่อป้องกัน) เกิดขึ้นที่ใต้ผิวชั้นนอกของรากและลำต้น เพื่อแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเนื้อเยื่อ (cork หรือ phellem ) ให้มาทำหน้าที่ป้องกันอันตรายและความเสียหายแทนเนื้อเยื่อผิวนอก (epidermis) ที่ใกล้หมดอายุและสร้างกลุ่มเซลล์ชั้น phelloderm เพิ่มเข้ามาในด้านใน
    -->เรียก ชั้นเซลล์ที่รวมตั้งแต่ cork ชั้นนอกสุดจนถึงชั้นphelloderm ว่า periderm เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของเปลือก
    2. vascular cambium เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่แทรกอยู่ระหว่าง กลุ่มท่อลำเลียงน้ำและวัตถุดิบ(xylem) กับ
    กลุ่มท่อลำเลียงอาหาร(phloem) ของพืชใบเลี้ยงคู่และพืชพวกจิมโนสเปิร์ม ถูกเรียกว่า แคมเบียมในมัดท่อลำเลียง หรือ fascicular cambium
    ในขั้นตอนการเจริญต่อมา เซลล์พาเรงคิมาที่อยู่ชิดกับมัดท่อลำเลียงทางด้านนอก สามารถปรับเปลี่ยนมาเป็นเนื้อเยื่อเจริญได้อีก จึกเรียกว่า "แคมเบียมระหว่างมัดท่อลำเลียง หรือ inter-fascicular cambium" ผลของการแบ่งเซลล์จะทำให้แนวของแคมเบียมทั้งสองพวกเชื่อมต่อกันเป็นวงบรรจบ เมื่อโครงสร้างส่วนนั้นของพืชมีอายุมากขึ้น บริเวณของมัดท่อลำเลียงจะขยายขนาดเข้ามาชิดกัน จนยากต่อการสังเกตแนวขอบของแคมเบียมทั้งสองพวก เรียกวงที่เกิดจากแนวเชื่อมรวมของแคมเบียมนี้ว่า แคมเบียมท่อลำเลียง
  2. เนื้อเยื่อถาวร
    transitional meristems คือเนื้อเยื่อเจริญที่มีการแบ่งตัวจนได้จำนวนเซลล์มากขึ้น ทำให้เซลล์ที่ได้จากการแบ่งตัวถูกเบียดออกไปและเปลี่ยนสภาพไปเป็นเนื้อเยื่อคงรูปเพื่อรับหน้าที่อื่นๆต่อไป แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
    I. protoderm เนื้อเยื่อเจริญกำเนิดผิว เจริญไปเป็น dermal tissue : epidermis เนื้อเยื่อชั้นผิว
    II. ground meristems เนื้อเยื่อเจริญพื้น เจริญไปเป็นเนื้อเยื่อพื้นฐานสามัญต่างๆ
    III. procambium ปรากฏเป็นแนวแทรกสอดอยู่กลาง ground meristems เจริญไปเป็นกลุ่มเนื้อเยื่อลำเลียง(porvascular tissue)
    transitional meristems พัฒนาไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรประเภทต่างๆดังนี้
    1. dermal tissue เนื้อเยื่อชั้นผิว ทำหน้าที่เป็น เนื้อเยื่อป้องกันเป็นชั้นเซลล์ที่ปกคลุมผิวนอกสุดของโครงสร้างต่างๆของพืช คือ ใบ ดอก ผล ฯลฯ เรียงตัวเพียงชั้นเดียว ได้แก่
    cutin -> ลักษณะคล้ายขี้ผึ้งน้ำซึมผ่านไม่ได้
    guard cell -> เซลล์คุม ทำหน้าที่เปิดปิด ช่องปากใบ(stomata)
    hair หรือ trichome -> เซลล์ขน
    glandular cell -> เซลล์ต่อมสร้างสาร
    2. cork tissue เนื้อเยื่อคอร์ก ในพืชพวกมีเนื้อไม้เมื่อชั้นเซลล์ epidermis ใกล้จะหมดอายุ กลุ่มเซลล์ที่อยู่ชั้นใต้ถัดลงมา จะเปลี่ยนสภาพไปเป็นเนื้อเยื่อเจริญ เรียกว่า cork cambium เซลล์คอร์กมีผนังหนาเพราะมีการสะสมสาร ซูเบอริน(suberin) ซึ่งมีคุณสมบัติยืดหยุ่นกันน้ำได้
    lentical : ช่องอากาศ เกิดจากการแบ่งเซลล์คอร์กออกมาเป็นจำนวนมาก สะสมเพิ่มพูนจนประทุชั้นผิวนอกออกมาเป็นแอ่งหลุม
    3. parenchyma เนื้อเยื่อพาเรงคิมา เป็นเนื้อเยื่อ ground tissue ที่มีจำนวนมาก แต่ละเซลล์มีผนังหักมุมเป็นเหลี่ยมหลายด้าน เมื่อมาอยู่รวมกันจำนวนมากจึงเกิด ช่องว่างระหว่างเซลล์ (intercellular spaces) ภายในมีช่องแวคิวโอลขนาดใหญ่ ทุกเซลล์สามารถดูดเก็บสะสมน้ำและสารเหลวต่างๆไว้ได้ดี
    chlorenchyma คลอเรงคิมา คือ เซลล์ parenchyma ที่มีเม็ดคลอโรพลาสต์ภายใน
    4. chlorenchyma เนื้อเยื่อคลอเรงคิมา เซลล์รูปเหลี่ยมเมื่ออยู่รวมกันจะไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ ผนังเซลล์หนาจากสะสมของสาร เพคทิน(pectin) ความหนาไม่สม่ำเสมอ มักพบเนื้อเยื่อชนิดนี้อยู่บริเวณเหลี่ยมมุมของกิ่ง ก้าน ใบ เพื่อพยุงและรักษารูปทรงของพืชให้ทรงอยู่ได้
    5. sclerenchyma เนื้อเยื่อสเคลอเรงคิมา ผนังเซลล์หนามาก ประกอบด้วยสารประเภทลิกนิน(lignin) กับ เซลลูโลส (cellulose) เซลล์มีอายุสั้นทำหน้าที่เสริมความเหนียวแน่นแข็งแรงให้กับโครงสร้างที่เติบโตเต็มที่แล้วของต้นพืช แบ่งตามรูปร่างได้ 2 แบบได้แก่
    - fiber ไฟเบอร์ มีรูปร่างเป็นเส้นยาว ปลายเสี้ยมแหลม อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม สร้างความเหนียวแน่น ยืดหยุ่นให้แก่ต้นพืช
    - sclereid สเคลอรีด หรือ stone cell ลักษณะป้อมสั้น มีรูปร่างได้หลายแบบ ปรากฎทั่วไป พบมากในส่วนที่ห่อหุ้มป้องกันเมล็ด เช่นที่เปลือกด้านในของผลน้อยหน่า กะลาหุ้มเมล็ดผลไม้ เป็นต้น
    6. vascular tissue เนื้อเยื่อท่อลำเลียง พัฒนามาจาก procambium ทำหน้าที่เกี่ยวกับการขนถ่ายลำเลียงสารไปยังส่วนต่างๆทั่วต้นพืช คือ โครงสร้างที่เป็นเส้นใบ ประกอบด้วยเนื้อเยื่อหลายประเภทมารวมตัวกัน เรียกว่า complex permanent tissue (เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน)
    แยกตามลักษณะการทำงานได้ 2 กลุ่ม คือ
    ---> 1. xylem ทำหน้าที่ขนส่ง น้ำ สารอาหาร แร่ธาตุ วัตถุดิบ
    ---> 2. pholem ทำหน้าที่ลำเลียงอินทรีสารและเกลือแร่ที่พืชสังเคราะห์ได้ ไปยังส่วนต่างๆทั่วต้นพืช
    -xylem ประกอบไปด้วย เนื้อเยื่อไฟเบอร์ เนื้อเยื่อพาเรงคิมา เนื้อเยื่อเทรคีด(tracheid) และ เวสเซล (vassel)
    -tracheid มีรูปร่างเป็นหลอดยาว ปลายเสี้ยมแหลม ผนังด้านข้างมีรอยปรุ พบในเนื้อไม้ของพืชที่เมล็ดไม่มีเนื้อเยื่อห่อหุ้ม
    -vassel พบมากในเนื้อไม้ของพืชดอกทั่วไป เซลล์มีรูปร่างเป็นท่อสั้นๆและกลมกว้างปลายป้านเชื่อมเซลล์ที่อยู่ติดต่อไว้ด้วยกัน
    -growth rings วงของการเจริญเติบโต หรือ วงปี ( annual rings)
    ---> ผนังเซลล์บางกว่า สีอ่อน เซลล์ไม่เรียงตัวกันอัดแน่น มองเห็นได้ง่าย เรียกว่า เนื้อไม้ต้นฤดู(early wood หรือ spring wood)
    ---> เซลล์ที่มีขนาดเล็กกว่า แคบกว่าแต่อยู่อัดกันแน่น เรียกว่า เนื้อไม้ปลายฤดู(late wood หรือ summer wood)
    -vascular bundle มัดท่อลำเลียง ถ้าเป็นพืชใบเลี้ยงคู่จะมีเนื้อเยื่อแคมเบียมมาแทรกคั่น ถ้าเป็นมัดท่อลำเลียงของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะไม่ปรากฏแนวของเนื้อเยื่อแคมเบียมให้เห็น
  3. เนื้อเยื่อถาวรลักษณะพิเศษ
    ส่วนที่อยู่ผิวนอกของพืชได้แก่
    1. เซลล์ขน (trichomes หรือ hairs) และ ต่อม (glands) เช่น เส้นใยปุยฝ้าย ปุยนุ่น ขนที่ปกคลุมผิวแก่หรือลำต้นของพืชตระกูลแตง
    2. เซลล์ต่อม คือเซลล์ขนที่สร้างและขับสารออกมา เช่น ต่อมผลิตน้ำต้อย หรือ น้ำหวาน (nectaries)ที่โคนกลีบกุหลาบ ต่อมผลิตน้ำมันหอม (essential oil gland) ที่ใบสะระแหน่
    ส่วนที่อยู่ภายในของพืชได้แก่
    1. เซลล์ผลิตสาร (secretory cell) เช่น น้ำมัน น้ำมันหอม ยางชัน
    2. ท่อน้ำยาง (laticifer) เช่นยางขนุน
    3. ท่อยางชัน ( duct , canel and cavities) เกิดจากการสลายหรือการแยกตัวของเซลล์กลุ่มหนึ่ง เกิดเป็นช่องโพรงกว้าง
    4. เรย์ (ray) เนื้อเยื่อแนวรัศมี เป็นเซลล์พาเรงคิมาที่แทรกอยู่ระหว่างกลุ่มมัดท่อลำเลียง เรย์ที่เกิดขึ้นในบริเวณในกลางหรือใส้กลาง(pith) ของรากและลำต้นเรียกว่า pith ray



V : สารโมเลกุลของสิ่งมีชีวิต

เซลล์ของสิ่งมีชีวิตประด้วยด้วย สารอนินทรีย์ และ สารอินทรีย์ ซึ่งสารอินทรีย์แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆหลายกลุ่ม กลุ่มที่สำคัญคือ สารชีวโมเลกุล (biomolecule) ซึ่งมี 3 กลุ่มใหญ่คือ
1 คาร์โบไฮเดรต ( carbohydrate )
2 โปรตีน (protein)
3 ลิพิด (lipid)

Carbohydrate
แยกย่อยออกเป็น 4 กลุ่มคือ monosaccharide , disaccharide , oligosaccharide , polysaccharide

polysaccharide มีโมเลกุลขนาดใหญ่ มีคุณสมบัติที่จะสร้างพันธะกับสารละลายไอโอดีน รวมเป็นสารประกอบเชิงซ้อน ที่มีสีต่างกันตามชนิดของ polysaccharide
การตรวจสอบ นิยมใช้ สารละลายไอโอดีนที่ละลายในสารละลายพอแทสเซียมไอโอไดน์ (I2 in KI)

polysaccharide พวก อะไมโลส เมื่อมีพันธะกับ I2 จะมีสีน้ำเงิน
polysaccharide พวก อะโมโลเพกติน ได้สารละลาย สีน้ำเงินเข้ม
polysaccharide พวก ไกลโคเจน ได้สารละลายสี น้ำตาลแดง
น้ำตาล ได้สารละลายไม่มีสี (เพราะน้ำตาลมีโมเลกุลขนาดเล็ก I2 ไม่สามารถเข้ามาแทรกได้)

polysaccharide ยึดเกาะกันด้วยพันธะ glycosidic bond ( ไกลโคซิดิก บอนด์) ถูกทำลายได้ด้วย เอนไซม์ , กรด , ความร้อน โดย polysaccharide ถูกย่อยสลายเป็น monosaccharide โดยสามารถนำมาตรวจสอบได้ด้วย สารละลายเบนเนดิก (Benedic reagent) ซึ่งประกอบไปด้วย copper sulphate , sodium carbonate, sodium citrate ซึ่งจะตกเป็นตะกอนสีแดงอิฐ เรียกว่า reducing sugar

Protein
protein เกิดจากกรดอะมินิ มาต่อกันด้วยพันธะเพปไทด์ โดยโปรตีนอยู่ในรูปของ enzyme ในส่วนประกอบของเซลล์หรือของเหลวของสิ่งมีชีวิต

กรด , เบส , แอลกอฮอล์ , ความร้อน มีผลทำให้ โปรตีนเกิดการเสียสภาพ (denature) ตกตะกอน หรือ จับตัวเป็นก้อน

โปรตีนสามารถตรวจสอบได้จาก สารละลาย biuret CuSO4 ที่มีอยู่ในสารละลาย biuret เมื่อสภาวะด่างทำปฏิกิริยากับโปรตีนจะได้สารประกอบเชิงซ้อน สีม่วง(violet) ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเรียกว่า ปฏิกิริยาไบยูเรท (biuret reaction)

Lipid

VI : เอนไซม์

VII : การสังเคราะห์ด้วยแสง

VIII : การหายใจ

VIIII : อาณาจักรโมเนรา โปรติสตา และ ฟังไจ

X : อาณาจักรพืช

XI : อณาจักรสัตว์

XII : การเจริญขั้นตอนของดาวทะเล